ประวัติความเป็นมา

          โรงพยาบาลสมุทรสาคร เป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดที่สร้างขึ้นเป็นแห่งสุดท้ายของประเทศไทยในสมัยนั้น เริ่มทำการก่อสร้างเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2501 โดยผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสาคร คือ นายสันต์ เอกมหาชัย ติดต่อรัฐบาลขอจัดสรรงบประมาณเพื่อการก่อสร้างโรงพยาบาลเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,360,000 บาท เมื่อได้รับงบประมาณในการก่อสร้างแล้ว ต่อมานายแพทย์สงัด เปล่งวานิช ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกองโรงพยาบาลภูมิภาค กรมการแพทย์สมัยนั้น ได้เดินทางมาตรวจสถานที่ก่อสร้างด้วยตนเองเห็นว่าที่ดินของ พระนรราชจำนง (สิงห์ ไรวา) อยู่ในทำเลที่เหมาะสมจึงได้ให้ทางจังหวัดติดต่อกับเจ้าของที่ดิน ของซื้อจำนวน 10 ไร่ ราคาไร่ละ 20,000 บาท และยกให้แก่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขโดยไม่คิดมูลค่าอีก 14 ไร่ เมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2500 จึงได้ดำเนินการเปิดประมูลก่อสร้างโรงพยาบาล ในการก่อสร้างครั้งแรกกำหนดให้มีอาคารต่างๆ ดังนี้ 1.ตึกอำนวยการ 1 หลัง 2.เรือนคนไข้ 25 เตียง 1 หลัง 3.โรงครัว 1 หลัง 4.โรงซักฟอก 1 หลัง 5.เรือนแถวพักจัตวา8ห้อง 1 หลัง 6.เรือนแถวพักคนงาน6ห้อง 1 หลัง 7.บ้านพักชั้นโท 1 หลัง 8.บ้านพักชั้นตรี 1 หลัง 9.ห้องเก็บศพ 1 หลัง 10.บ่อพักน้ำ 1 หลัง 11.สะพานคอนกรีตข้ามคูน้ำหน้าโรงพยาบาล และในปี พ.ศ.2501 ทางกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้จัดสรรงบประมาณเพิ่มอีก 500,000 บาท ให้เอาไปสมทบการก่อสร้างกับงวดแรก 50,000 บาท อีก 450,000 บาท ให้ทำการก่อสร้างรายการเพิ่มเติมตามรายการดังต่อไปนี้ 1.บ้านพักชั้นโท 1 หลัง 2.บ้านพักชั้นตรี 1 หลัง 3.เสาธง 1 ต้น 4.ปรับปรุงท่อน้ำประปาไปยังอาคารต่างๆ 5.ติดตั้งไฟฟ้าในโรงพยาบาล 6.กำแพงและประตูเหล็กด้านหน้าโรงพยาบาล 7.ถนนวงเวียน คอนกรีตเสริมเหล็กหน้าตึกอำนวยการ 8.ห้องน้ำและห้องส้วมสำหรับโรงครัว 1 หลัง การก่อสร้างแล้วเสร็จและได้เปิดดำเนินการเมื่อวันพุธที่ 9 ธันวาคม 2502 (ขึ้น 9 ค่ำ เดือนอ้าย) พระบำราศนราดูร อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในพิธีเปิด และนายแพทย์ไสว วงศาโรจน์ เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก มีแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่อื่นๆ รวมทั้งสิ้น 17 คน



          โรงพยาบาลสมุทรสาครขยายบริการตามบริบทของความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนในจังหวัดสมุทรสาครที่มีความเจริญทางเศรษฐกิจที่มีประชาชนอาศัยในพื้นที่กว่า 1 ล้านคน ได้รับการยกฐานะเป็นโรงพยาบาลศูนย์ในปีงบประมาณ พ.ศ.2560 (โดยสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) เห็นชอบตามมติ ทีประชุม อกพ. สป.สธ. ที่ สป.สธ. 6/2559 วันที่ 28 กันยายน 2559) สอดคล้องตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพของกระทรวงสาธารณสุขของการพัฒนาศักยภาพเป็น Advance Hospital(A) จากปีงบประมาณ พ.ศ.2557 ขยายการให้บริการผู้ป่วยในจากจำนวนเตียง 509 เตียง เป็นจำนวน 602 เตียงในปัจจุบัน (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562) มีผู้ป่วยสามัญ 436 เตียง และ เตียงพิเศษ 166 เตียง รองรับผู้ป่วยหนักทางศัลยกรรมและอายุรกรรมในเตียงICU ได้ 27 เตียง เตียงผู้ป่วยทารกแรกเกิดวิกฤต 10 เตียง เตียงผู้ป่วยโรคหัวใจระยะวิกฤติ (CCU) 10 เตียงอัตราการครองเตียงภาพรวม ปีงบประมาณ 2558- 2560 ประมาณร้อยละ 85 ถึง ร้อยละ 88 มีเตียง active หรือผู้ป่วยในเฉลี่ยประมาณ 510 -520 เตียง (ราย) ต่อวัน มีการวางแผนและจัดระบบบริการสุขภาพเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของประชาชนในจังหวัดและพื้นที่ใกล้เคียงมาอย่างต่อเนื่องทั้งด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการพัฒนาคุณภาพด้านบริการ ให้บริการส่งเสริมป้องกันโรค และรักษาระดับปฐมภูมิ และทุติยภูมิ โดยมีประชากรที่อาศัยในเขต อำเมืองสมุทรสาครเป็นเป้าหมายหลักในปีงบประมาณ 2560 -2561 สามารถรองรับการให้บริการผู้รับบริการได้กว่าวันละ 3,300 - 3,500 ราย โดยเป็นการให้บริการสร้างเสริมสุขภาพป้องกันโรคประมาณวันละ 900 -1,000 ราย (ร้อยละ 28 -31) ผู้ป่วยประมาณวันละ 2,300 - 2,400 ราย (ประมาณร้อยละ 70 - 72) และรับไว้เป็นผู้ป่วยในประมาณ 130-140 รายต่อวัน ซึ่งเป็นทั้งประชาชนในเขตจังหวัดสมุทรสาคร และพื้นที่ใกล้เคียง ระบบบริการผู้ป่วยนอกห้องตรวจโรคผู้ป่วยนอกกว่า 20 แผนก มากกว่า 50 ห้องตรวจ และระบบบริการสนับสนุนการตรวจวินิจฉัยโรค การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก ระบบริการเวชกรรมฟื้นฟู ด้านผู้ป่วยใน มีหอผู้ป่วยสำหรับการรับไว้รักษาต่อ ทั้งหอผู้ป่วยสามัญ หอผู้ป่วยพิเศษ หอผู้ป่วยหนักรวม 27หอผู้ป่วยนอกจากนี้ยังมีการให้บริการห้องผ่าตัด 12 ห้อง เตียงรอคลอด และเตียงคลอด รวม 12เตียง มีทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาทีมสหสาขาวิชาชีพ ตลอดจนบุคลากรต่างๆรวมกว่า 1,900 คน ผ่านการรับรอง HA มาแล้ว 4 ครั้ง (ผ่าน HA เดือนมีนาคมปี พ.ศ.2549) กำลังจะเข้าสู่กระบวนการรับรองครั้งที่ 5 ในกลางปี พ.ศ.2562



ศักยภาพโดยสรุปในปัจจุบัน ขนาดโรงพยาบาล (ตาม Service Plan)

ศูนย์รักษาเฉพาะโรค
โรงพยาบาลศูนย์ ( level A )
โรงพยาบาลทั่วไป ( level S )
โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก ( level M1 )
โรงพยาบาลชุมชน แม่ข่าย ( level M2 )
โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ ( level F1 )
โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง ( level F2 )
โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก ( level F3 )
โรงพยาบาลเฉพาะทาง
โรงเรียนแพทย์


ขนาดจำนวนเตียง 602 เตียง
อัตราการครองเตียง 84 - 86 % (515-520 รายต่อวัน)
ค่าเฉลี่ยระยะเวลาครองเตียง 4-5 วัน/คน บริการเตียงสามัญ 436 เตียง /พิเศษ 166 (ห้อง) เตียง/ ICU 47 (ICU ไม่นับรวมเป็นจำนวนเตียง)
จำนวนผู้ป่วยที่มาใช้บริการ : ผู้ป่วยนอก 3,200 – 3,500 คน /วัน
ผู้ป่วยนอก 980,000- 1,100,00 คน / ปี

ขีดความสามารถการให้บริการ

บริการรักษาการแพทย์ ระดับเวชปฏิบัติทั่วไป
บริการรักษาการแพทย์เฉพาะทางสาขาหลัก ได้แก่ สูตินรีเวชกรรม ศัลยกรรม อายุรกรรม กุมารเวชกรรม ออร์โธปิดิกส์ ทันตกรรม
บริการรักษาการแพทย์เฉพาะทางสาขารอง ได้แก่ จักษุวิทยา หู คอ จมูก จิตเวช วิสัญญีวิทยา รังสีวิทยา เวชศาสตร์ฟื้นฟู นิติเวชศาสตร์ อาชีวเวชศาสตร์ เวชศาสตร์ครอบครัว
บริการรักษาการแพทย์เฉพาะทางสาขาต่อยอด ได้แก่ ศัลยกรรมประสาทและสมอง ศัลยกรรมเด็ก ศัลยกรรมตกแต่งและสร้างเสริม ศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะ อายุรศาสตร์โรคหัวใจ อายุรศาสตร์โรคไต อายุรศาสตร์โรคเลือด อายุรศาสตร์ทางเดินหายใจ อายุรศาสตร์ทางเดินอาหารและตับ อายุรศาสตร์โรคเลือด รังสีร่วมรักษา อายุรศาสตร์มะเร็งวิทยา เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ประสาทวิทยา ตจวิทยา
ศูนย์ความเชี่ยวชาญ ได้แก่ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคมะเร็ง อุบัติเหตุฉุกเฉิน ทารกแรกเกิด
บริการ อื่นๆ ที่สำคัญ ได้แก่ แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน


การบริหารจัดการองค์กร

• วิสัยทัศน์ ที่หนึ่งด้านบริการสุขภาพ
• พันธกิจ
- รักษา ฟื้นฟู โรคซับซ้อนอย่างมีประสิทธิภาพ
- ส่งเสริม ป้องกันอย่างมีประสิทธิภาพ
- บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดการสารสนเทศที่ตอบสนองความต้องการผู้ใช้
- พัฒนาความเชี่ยวชาญบุคลากร
• โครงสร้างองค์กร
บริหารตามโครงสร้างโรงพยาบาลศูนย์สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และปรับปรุงให้เหมาะสมกับการจัดบริการของโรงพยาบาลสมุทรสาคร แบ่งเป็น 7 กลุ่มภารกิจ ภายในกลุ่มภารกิจมีกลุ่มงาน และงาน เป็นโครงสร้างการบริหารภายใน และมีโรงพยาบาลสาขาที่เอกชนก่อสร้างยกให้กระทรวงสาธารณสุข แล้วกระทรวงสาธารณสุขมอบให้โรงพยาบาลสมุทรสาครดำเนินการจัดบริการจำนวน 2 แห่ง (ปัจจุบัน 2562 จัดบริหารเฉพาะผู้ป่วยนอก ทั้ง 2 แห่ง)
(ตามเอกสารแนบ)

2.1.9 อัตรากำลัง

ตำแหน่งข้าราชการลูกจ้างประจำ พนักงานราชการ ชค.รายเดือน พกส. รวม
แพทย์115- - 8 - 123
ทันตแพทย์34- - - - 34
เภสัชกร45- - 1 1 47
พยาบาลวิชาชีพ512- - 36 - 548
นักเทคนิคการแพทย์16- - 3 - 19
นักกายภาพบำบัด7- - 5 3 15
สายงานอื่นๆ10578 35 20 762 964
รวม83478 35 73 730 1,750